วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สุขภาพ เป็นการเรียกการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณ(ปัญญา)หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้ว ก็จะเข้าสู่ที่เรียกว่าสุขภาวะ
ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก สุขภาพหมายถึงสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และสังคมรวมทั้งการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจ
วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ยม สามารถหมายถึง
แม่น้ำยม หนึ่งในสี่แควหลักของแม่น้ำเจ้าพระยา
พระยม เทวดาองค์หนึ่งตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์และพุทธ
ท้าวสุยม (พระสุยามาธิบดี) หัวหน้าเทวดาบนสวรรค์ชั้นยามา ในฉกามาพจร
ยมโลก หรือ นรก ตามความเชื่ออันเนื่องจากคติไตรภูมิ
- ยมบาล ผู้ดูแลรักษายมโลก โดยทั่วไปหมายถึง พระยม
ยมทูต เทวทูตชั้นผู้น้อยผู้เป็นบริวารแห่งยมบาล
รัก-ยม บริภูติชนิดหนึ่ง ตามความเชื่อทางไสยศาสตร์
วันยม หรือวันยมขันธ์ หนึ่งในวันที่ไม่ควรประกอบพิธีมงคลตาม ดิถีอันประกอบด้วยวัน
ดาวยมหรือดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ
ต้นยม ต้นไม้ในวงศ์ Meliaceae เช่น ยมหิน ยมหอม
วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550
อำเภอชะอำ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด ซึ่งมีหาดทรายขาว ยาว และยังเป็นแหล่งเศรษฐกิจด้านการทอ่งเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งเป็นรายได้ให้กับด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการโรงแรม ธุรกิจการค้าของที่ระลึก ร้านอาหาร การประมง เป็นต้น
อำเภอชะอำ ตั้งขึ้นเมืองปี พ.ศ. 2440 ที่บ้านายาง หมู่ที่ 3 ตำบลนายาง เดิมใช้ชื่อว่า "อำเภอนายาง" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2457 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอนายาง ไปตั้งที่บ้านหนองจอกและเปลี่ยนชื่อเป็นเป็นอำเภอหนองจอก เขตอำเภอท่ายาง ในปัจจุบัน จนกระทั่งหลังสงครามมหาเอเชียบูรพากระทรวงมหาดไทยได้ย้ายอำเภอหนองจอก มาตั้งที่ ต.ชะอำ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สะดวกแก่การปกครองและได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอชะอำ"เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2487 มี พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
เศรษฐกิจในชะอำ
ในอำเภอชะอำยังมีโครงการที่เกี่ยวกับพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช พระองค์ทรงได้พระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน ซึ่งมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้
จะเห็นว่าศูนย์การพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาขากพระราชดำริเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ คือมีทั้งการศึกษาการทดลอง และสาธิต เพื่อให้เห็นผลทุกด้าน ดังนั้นราษฎรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้อย่างแท้จริงจึงนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและเป็นการเพิ่มรายได้อีกต่อไป
ภาพที่พักบังกะโล
ภาพที่พักโรงแรมชายทะเล
ภาพชายหาดทะเลชะอำ
ภาพชายหาดริมะเลชะอำ
โครงการพระราชประสงค์หุบกระพง เป็นโครงการเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินทำกินเกษตรกรผู้ยากจนในรูปแบบของหมู่บ้านสหกรณ์ จะเน้นในด้านเกษตรและกิจกรรมสหกรณ์
ศูนย์สาธิตสหกรณ์ดอนขุนห้วย ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องมาจากโครงการหุบกระพงมุ่งเน้นการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรที่ยากจน
ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยทราย เป็นพื้นที่เขตอับฝน เนื่องมาจากป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดการบำรุงรักษาทำให้เกิดการพังทลายค่อนข้างสูง และราษฎรส่วนใหญ่ปลูกไร่สับปะรด โดยใช้สารเคมีมากทำให้คุณภาพของดินต่ำลงด้วย พระองค์ทรงมีราชดำรัสว่า หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทราย ในที่สุด จึงให้แนวทางการแก้ไขให้เป็นศูนย์การพัฒนาด้านการเกษตรควบคู่ไปกับการปลูกป่า และช่วยส่งเสริมราษฎรสร้างรายได้จาการผลิตผลจากป่าไม้กับปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ในรูปแบบของเกษตรผสมผสานควบคู่กันไป
วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550
วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ (「昭和天皇」, Shōwa Tennō, – โชวะเทนโน) (29 เมษายน 2444 - 7 มกราคม 2532) พระนามเดิม ฮิโระฮิโตะ (裕仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของประเทศญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2532 รวมแล้วถึง 63 ปี
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงมีบทบาทที่สำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเป็นผู้นำญี่ปุ่นเข้าร่วมฝ่ายอักษะร่วมกับนาซีเยอรมันและฟาสซิสต์ของอิตาลี
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จพระราชสมภพ ณ ปราสาทอะโอะยะมะ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2444 ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และเจ้าหญิงซะดะโกะ โดยมีพระนามในวัยเด็ก ว่า เจ้าชายมิจิ (迪宮)
พระราชโอรส-ธิดา
หลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิไทโชทรงประชวร เจ้าชายฮิโระฮิโตะจึงได้ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในขณะนั้นเจ้าชายฮิโรฮิโตะทรงมีพระชนมายุได้ 20 พรรษา และทรงกลายมาเป็นจักรพรรดิของประเทศตามพฤตินัย ขาดเพียงพระอิสริยยศว่า "สมเด็จพระจักรพรรดิ" เท่านั้น ขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิไทโชกลับเป็นพระประมุขเพียงในทางนิตินัย
เจ้าชายฮิโระฮิโตะ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในส่วนของสมเด็จพระจักรพรรดิในทันที เช่นการเสด็จไปร่วมพิธีเปิดการประชุมสภา ต้อนรับอาคันตุกะต่างแดน และเสด็จพระราชดำเนินชมแสงยานุภาพของการทหาร เจ้าชายยังทรงเอาพระราชกิจด้านการเมืองการปกครองทั้งหมดในวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิมาทำ รวมถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรี และออกราชโองการรับรองนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการ
ในปี พ.ศ. 2464(ค.ศ. 1921) เจ้าชายฮิโระฮิโตะในฐานะมกุฎราชกุมารได้เสด็จประพาสทวีปยุโรปเป็นเวลาครึ่งปี ซึ่งประกอบด้วย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี นครรัฐวาติกัน เนเธอร์แลนด์ และ เบลเยียม ซึ่งการเสด็จประพาสในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นมกุฎราชกุมารพระองค์แรกที่ได้เสด็จไปยุโรป
วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ (「明仁」, Akihito, 明仁) หลังจากที่สิ้นยุคของพระองค์แล้ว เราก็อาจจะขนานพระนามพระองค์ว่า จักรพรรดิเฮเซ
พระราชโอรสและพระราชธิดา
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำคนหนึ่ง ทรงศึกษาวิชามีนวิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย Gakushuin กรุงโตเกียว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร ได้ทรงเสด็จมายังประเทศไทย และทรงทูลเกล้าถวายปลานิลจำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งการทดลองเลี้ยงนับว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง จนปัจจุบัน ปลานิลกลายเป็นหนึ่งในปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย
นอกจากนี้แล้ว ยังทรงค้นพบปลาในตระกูลปลาบู่ทะเลชนิดใหม่ ต่อมาได้มีการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Exyrias akihito ซึ่งชื่อสายพันธุ์ของปลาชนิดนี้ได้ถูกตั้งตามพระนามของพระองค์ด้วย
วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550
เบรเมิน (เยอรมัน: Bremen [ˈbʀeːmən]) เป็นเมืองฮันเซียติค (Hanseatic) ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนี (ชื่ออย่างเป็นทางการ: Stadtgemeinde Bremen (เทศบาลนครเบรเมิน)). เบรเมินเป็นเมืองท่า ตั้งอยู่ตามแนวแม่น้ำเวเซอร์ ประมาณ 60 ก.ม. ทางใต้จากทางออกสู่ทะเลเหนือ เบรเมินเป็นหนึ่งในสองเมืองในรัฐเบรเมิน (ชื่ออย่างเป็นทางการ: Freie Hansestadt Bremen (นครฮันเซียติคอิสระเบรเมิน) ซึ่งบอกความเป็นสมาชิกของHanseatic Leagueในยุคกลาง) อีกเมืองหนึ่งคือ เบรเมอร์ฮาเฟิน (Bremerhaven) เบรเมินมีประชากร 545,983 คน (เมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548) ส่วนเขตเมืองใหญ่ (Bremen-Oldenburg) มีประชากรมากกว่า 2.37 ล้านคน.
เบียร์ที่กลั่นในเบรเมิน
วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ตาม พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกาศให้กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการดังต่อไปนี้
สำนักงานรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดกระทรวง
กรมการแพทย์
กรมควบคุมโรค
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กรมสุขภาพจิต
กรมอนามัย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)