วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
โอ๊ทส์! ทาทาคาเอะ! โอเอนดัน (「押忍!闘え!応援団」, โอ้! สู้! ทีมเชียร์, 押忍!闘え!応援団)ซึ่งได้วางจำหน่ายในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2007
สารบัญ
พื้นฐานในการเล่นเกมโอ๊ทส์! ทาทาคาเอะ! โอเอนดันนั้นในแต่ละด่านจะมีดนตรีบรรเลงขึ้นมาและมีปุ่มกดขึ้นมาบนหน้าจอและมีวงกลมสีเดียวกับปุ่ม โดยหน้าที่ของผู้เล่นคือกดปุ่มสีสามลำดับเลข โดยกะจังหวะตามเพลงให้วงกลมรอบนอกเข้ามาบรรจบตรงปุ่มพอดี นอกจากนั้นยังมีแบบลาก (กดค้างแล้วลากตามทาง) กับหมุน (กดค้างแล้วหมุน) ซึ่งถ้าผู้เล่นทำสำเร็จก็จะได้รับคะแนนตาม�! �ังหวะที่กด (หากกดช้าหรือเร็วเกินไปจะทำให้ได้คะแนนน้อยลง) และตัวละครจะทำท่าเชียร์แบบญี่ปุ่นตามจังหวะดนตรี แต่ถ้าผิดผู้เล่นจะเสียเกจกำลังใจด้านบน ซึ่งเมื่อเล่นไปซักพักเกมจะตัดเข้าสู่เนื้อเรื่อง ซึ่งถ้าเกจกำลังใจไม่ลดมากเกินไป (ถึงระดับที่ตัวละครก้มหน้าไม่ยอมเต้นเชียร์) ตัวละครก็จะได้รับคำชมหรือกำลังใจหรือกระทำบางอย่างสำเร็จ แต่ถ้าเกจกำลั! งใจลดมากเกินไปตัวละครก็� ��ะทำผิดพลาด ซึ่งทั้งหมดจะนำมาคำนวณคะแนนเมื่อจบด่านนั้นๆ ซึ่งถ้าเกจกำลังใจลดลงจนหมดก็จะแพ้ในด่านนั้นๆ
ระบบของเกม
ตัวละครในเกมโอ๊ทส์! ทาทาคาเอะ! โอเอนดันที่ผู้เล่นสามารถเลือกได้นั้น เป็นสมาชิกของทีมเชียร์ ซึ่งแต่ละคนจะเปรียบเสมือนระดับความยากของเกม ซึ่งจะแปรตามในแต่ละด่านคือ จำนวนปุ่มกดและเวลาในการกด โดยยิ่งระดับความยากสูงขึ้น จำนวนปุ่มจะมากขึ้นและมีเวลาในการกดน้อยลง
ทานากะ ฮาจิเมะ (田中 一) - ตำแหน่งน้องใหม่ในทีม เป็นตัวละครในระดับความยาก "ง่าย"
อิปปงงิ ริวตะ (一本木 龍太) - ตำแหน่งลีดเดอร์ในทีม เป็นตัวละครในระดับความยาก "ธรรมดา" เขาเป็นตัวละครที่ปรากฏอยู่ในปกหน้าของกล่องเกมและหน้าจอหลักของเกม
โดเมกิ ไค (百目鬼 魁) - ตำแหน่งประธานทีมเชียร์ เป็นตัวละครในระดับความยาก "ยาก" จะให้เลือกเล่นเมื่อจบเกมในระดับธรรมดาและง่าย
ซูซูกิและไซโต้ (鈴木、斉藤) - ปรากฏเคียงคู่กับตัวละครชายทั้ง 3 โดยเป็นลักษณะของผู้ช่วยในการเชียร์ ซูซูกิมีจุดเด่นที่ไว้ผมทรงโมฮอคว์และไซโต้มีจุดเด่นที่ปิดตาข้างหนึ่ง
เชียร์ลีดเดอร์หญิง (チアガールズ) - เป็นทีมพิเศษที่ เป็นตัวละครในระดับความยาก "ยากมาก" จะให้เลือกเล่นได้เมื่อจบเกมในระดับยาก สมาชิกในทีมได้แก่ อาเมมิยะ ซายากะ (ผู้นำ), คันดะ อาโออิ (ใส่แว่น), แอนนา ลินด์เฮิสต์ (ผมบลอนด์)
ทีมเชียร์
เพลงที่ใช้ในเกมโอ๊ทส์! ทาทาคาเอะ! โอเอนดันเกือบทุกเพลงจะมีการเปลี่ยนคนร้องและบางเพลงจะเปลี่ยนจังหวะและทำนองเพื่อให้เข้ากับตัวเกม บางเพลงมีการตัดหรือเพิ่มเนื้อร้องบางส่วน โดยเพลงที่เกมใช้นั้นจะเป็นเพลงประเภทเจป๊อป ของช่วงปี ค.ศ. 1990 - ค.ศ. 2000 ในขณะเดียวกันในแต่ละด่านก็จะมีเรื่องราวซึ่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมและประเพณีของญี่ปุ่นและแต่ละด่าน (ตามลำดั�! ��) ระดับความยากก็จะยากขึ้นเรื่อยๆ
ループ&ループ (Asian Kung-fu Generation) - นักเรียนเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย
メロディー (175R) - งานประเพณีแข่งมัตสึริ
恋のダンスサイト (มอร์นิงมุซุเมะ) - สาวออฟฟิศกับความหวังจะได้ควงคู่งานเลี้ยงกับหัวหน้าแผนกสุดหล่อ
ガッツだぜ!! (Ulfuls) - ม้าแข่งที่ต้องจับโจรปล้นเงิน
リンダ リンダ (The Blue Hearts) - เจ้าของร้านราเม็งที่ต้องหาทางกอบกู้กิจการ
スリル (โทโมยาสึ โฮเท) - เด็กประถมที่ต้องพิชิตใจเด็กผู้หญิงที่เขาแอบชอบกับนักกีฬาดอดจ์บอลของโรงเรียน
ココロオドル (nobodyknows+) - ช่างปั้นหม้อที่ต้องการสร้างแรงบันดาลใจในการปั้นหม้อ
熱き鼓動の果て (B'z) - ครูโรงเรียนมัธยมปลายที่ต้องการให้สอนเด็กนักเรียนหญิงล้วนเข้าใจถึงความหมายของการศึกษา
狙いうち (ลินดา ยามาโมโตะ) - พระนางคลีโอพัตราที่ต้องการสร้างพีระมิดเพื่อขอพรให้ตัวเองผอม
One Night Carnival (คิชิดัน) - นักไวโอลินที่ต้องสู้กับอาการท้องเสียเพื่อไปแสดงให้ทันเวลา
大切なもの (Road of Major) - ผู้สมัครับเลือกตั้งนายกเขต ที่ต้องขับเคี่ยวกับคู่แข่งที่ใช้กลโกง
Over the Distance (ไยดะ ฮิโตมิ) - วิญญาณชายหนุ่มขอโอกาสจากพระเจ้า 1 ชั่วโมง ให้ตนสามารถไปบอกรักกับแฟนของเขา
上海ハニー (Orange Range) - ตำรวจสองคนต้องต่อสู้กับกองทัพหุ่นยนต์จากนอกโลก
太陽が燃えている (The Yellow Monkey) - ยอดมนุษย์ซาลารี่แมนที่ต้องช่วยเหลือลูกสาวจากปีศาจหนูยักษ์
Ready Steady Go (L'Arc~en~Ciel) - อุกกาบาตกำลังชนโลกในอีกไม่กี่ชั่วโมง เป็นหน้าที่ของคนทั้งโลกที่จะรวมพลังปกป้องโลกไว้
เพลงที่ใช้ในเกมและด่านต่างๆ
ดูบทความหลักที่: อีลีทบีทเอเย่นต์
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 นินเทนโดและ iNis ได้ทำการผลิตและวางจำหน่ายอีลีทบีทเอเย่นต์ โดยมีรูปแบบการเล่นที่เหมือนกับเกมโอ๊ทส์! ทาทาคาเอะ! โอเอนดัน แต่เปลี่ยนเนื้อหาและเพลงที่ใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกและปรับปรุงระบบการเล่นโดยรวมอีกด้วย
Elite Beat Agent
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)
เว็บไซต์ของบริษัท iNis (ญี่ปุ่น)
บทวิจารณ์จากเว็บไซต์ Metacritic (อังกฤษ)
เบื้องหลังการสร้างเกม (อังกฤษ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น