วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2550
อาเดรียโน่ เลเต้ ริเบโร่ (Adriano Leite Ribeiro) เกิด 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1982 ที่เมืองริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เป็นนักฟุตบอลทีมชาติบราซิล ตำแหน่งศูนย์หน้า
อาเดรียโน่เคยเล่นให้กับสโมสรฟุตบอลฟลามิงโก้ ในบราซิล, สโมสรฟุตบอลฟิออเรนตินา, สโมสรฟุตบอลปาร์ม่า ในอิตาลี ปัจจุบันสังกัดสโมสรฟุตบอลอินเตอร์มิลาน
อาเดรียโน่ประสบความสำเร็จกับทีมชาติบราซิลในการแข่งขันฟุตบอลโคปา อเมริกา 2004 และคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005 ซึ่งทั้งสองรายการบราซิลได้เป็นแชมป์ และอาเดรียโน่เป็นดาวยิงสูงสุดรวมถึงผู้เล่นยอดเยี่ยม แต่ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่ประเทศเยอรมนี อาเดรียโน่และบราซิลมีผลงานไม่ดีนัก เขาทำได้เพียง 2 ประตูจากนัดที่พบกับออสเตรเลียและกานาในรอบแรก
วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550
เกาะชวา (ภาษาชวา: Jawa, อังกฤษ: Java) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต�! �อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก
วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2550
วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550
พฤกษศาสตร์ (botany) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพืช เนื่องจากเป็นสาขาหนึ่งในชีววิทยา บางครั้งจึงเรียกว่า ชีววิทยาของพืชพฤกษศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวาง ครอบคลุมทั้งในด้านการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมทาบอลิซึม โรค นิเวศวิทยา และวิวัฒนาการของพืช
สารบัญ
ดังเช่นสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พืชก็สามารถศึกษาได้จากหลายแง่มุม ทั้งในด้านโมเลกุล พันธุศาสตร์ หรือชีวเคมี และศึกษาได้ตั้งแต่ระดับออร์แกเนลล์ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ต้นพืช ประชากร ไปจนถึงระดับชุมชนหรือสังคมของพืช ในแต่ละระดับเหล่านี้ นักพฤกษศาสตร์อาจสนใจศึกษาได้ทั้งในด้านการจัดหมวดหมู่ (อนุกรมวิธาน) ด้านโครงสร้าง (กายวิภาคศาสตร์) หรือด้านหน้าที่ของ�! �่วนต่างๆของพืช (สรีรวิทยา)
ในอดีตนั้น สาขาพฤกษศาสตร์จะศึกษาสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่จัดว่าไม่ใช่สัตว์ สิ่งมีชีวิตที่คล้ายพืชเหล่านี้ได้แก่ เห็ดรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่าย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้จัดอยู่ในอาณาจักรพืชอีกแล้วในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นักพฤกษศาสตร์ก็ยังคงให้ความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ และยังใช้ในการศึกษาพฤกษศาสตร์เบื้องต้น
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกๆบนโลก เป็นผู้ผลิตออกซิเจน อาหาร เชื้อเพลิง และยา ทำให้สิ่งมีชีวิตชั้นสูงกว่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ พืชยังดูดกลืนคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพืชมีความสำคัญต่ออนาคตของสังคมของมนุษย์ดังต่อไปนี้
การผลิตอาหารให้แก่โลก
ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต
การผลิตยาและวัสดุต่างๆ
ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตและความสำคัญของพฤกษศาสตร์
ความจริงแล้วอาหารทุกอย่างที่เรารับประทานล้วนมาจากพืช ทั้งโดยตรงจากอาหารหลักจำพวกแป้ง ข้าว รวมทั้งผักและผลไม้ หรือโดยอ้อมผ่านทางปศุสัตว์ซึ่งกินพืชเป็นอาหาร ความหมายอีกนัยหนึ่งคือ พืชเป็นรากฐานของห่วงโซ่อาหารเกือบทุกห่วงโซ่ หรือที่นักนิเวศวิทยาเรียกว่า ลำดับขั้นแรกของอาหาร ความเข้าใจในการผลิตอาหารของพืชมีความสำคัญต่อการผลิตอาหารให้แก่ค�! �ทั่วโลก และเก็บรักษาอาหารไว้สำหรับอนาคต แต่พืชไม่ได้มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทุกชนิด วัชพืชบางชนิดสร้างปัญหาในการเกษตรกรรม และนักพฤกษศาสตร์ก็พยายามศึกษาเพื่อหาวิธีลดผลกระทบให้น้อยที่สุด
การผลิตอาหารให้แก่โลก
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมและสะดวกต่อการศึกษากระบวนการพื้นฐานต่างๆของสิ่งมีชีวิต (ตัวอย่างเช่น การแบ่งเซลล์ และการสังเคราะห์โปรตีน) โดยไม่มีปัญหาทางจริยธรรมจากการศึกษาในสัตว์หรือมนุษย์ กฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของเกรเกอร์ เมนเดล ก็ถูกค้นพบโดยการศึกษาด้วยวิธีนี้ โดยศึกษาจากการถ่ายทอดลักษณะของถั่ว
การผลิตยาและวัสดุต่างๆ
พืชสามารถทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมได้จากหลายทาง ได้แก่
ความเข้าใจในการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีความสำคัญต่อการจัดหมวดหมู่และการศึกษาอนุกรมวิธานของพืชได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์
พืชมีการตอบสนองต่อรังสีอุลตราไวโอเลต จึงใช้ศึกษาและตรวจสอบการลดลงของโอโซนได้
การศึกษาวิเคราะห์ละอองเกสรจากซากดึกดำบรรพ์ของพืช ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์จำลองสภาพภูมิอากาศในอดีต และทำนายสภาพอากาศในอนาคตได้
การบันทึกและวิเคราะห์ช่วงเวลาของวัฎจักรชีวิตของพืช มีความสำคัญต่อการศึกษาปรากฏการณ์และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
ไลเคน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อสภาพอากาศ สามารถใช้ตรวจวัดมลภาวะได้
ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
ประวัติศาสตร์ของพฤกษศาสตร์
ในปี 1665 (พ.ศ. 2208) โรเบิร์ต ฮุค ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องพบเซลล์ในจุกไม้คอร์ก และต่อมาไม่นานก็ค้นพบในเนื้อเยื่อพืชที่ยังมีชีวิต
พฤกษศาสตร์สมัยใหม่
เกษตรกรรม
เครื่องเทศ
ชีววิทยา
พืช
ไม้ดอก
ผลไม้
วนศาสตร์
สมุนไพร
สวนพฤกษชาติ
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2550
สารบัญ
ประวัติ
พ.ศ. 2481 - โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
พ.ศ. 2485 - วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2487 - วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2493 - ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2494 - ทำการวิจัยเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ ต่อในประเทศอังกฤษ พร้อมทั้งฝึกงานการสกัดน้ำมันพืช และดูงานอุตสาหกรรมทำยา จากโรงงานต่างๆ ในประเทศอังกฤษ เยอรมันนี และสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2507 - สำเร็จ ว.ป.อ. รุ่นที่ 7
การศึกษา
ตำแหน่งวิชาการ
ตำแหน่งบริหาร
ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ
พ.ศ. 2486 - อาจารย์ผู้ช่วยสอนแผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2488 - อาจารย์โท แผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2490 - ลาราชการเพื่อศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2493 - อาจารย์โท แผนกเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2494 - อาจารย์โท แผนกเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ. 2496 - อาจารย์เอก แผนกเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ. 2502 - ศาสตราจารย์แผนกเคมี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ. 2501 - ผู้อำนวยการ โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ. 2503 - รักษาการคณบดี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
พ.ศ. 2503 - คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (พ.ศ. 2512 เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
พ.ศ. 2511 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ. 2512 - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อีกตำแหน่งหนึ่ง
กรรมการมูลนิธิอานันทมิหดล
กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กรรมการพัฒนามหาวิทยาลัย
กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์
กรรมการดำเนินการเกี่ยวกับการช่วยเหลือในระดับอุดมศึกษา ในด้านแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์และสังคมศาสตร์
กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
กรรมการร่วมกับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันประเทศอังกฤษและประเทศออสเตรเลีย เพื่อจัดหาอาจารย์จากต่างประเทศ จัดหาทุน ให้อาจารย์และนักศึกษาไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2495 - เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2496 - จตุรถาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2498 - ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2505 - ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2507 - ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2508 - ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2510 - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
พ.ศ. 2512 - ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2513 - เหรียมดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
พ.ศ. 2513 - ประถมมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2514 - ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและสารประกอบทางเคมีที่สกัดจากสมุนไพรของไทย และมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวนหลายเรื่อง ผลงานวิจัยโดยสรุปมีดังนี้
การวิจัยเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะจาก Lichens บนภูกระดึง
การพิสูจน์โครงสร้างของสารเคมีที่พบในต้นไม้หลายชนิด (Coniferin) โดยวิธีการทางฟิสิกส์
การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของยาขับพยาธิจากสมุนไพร ปวกหาด (Artrocarpus lakoocha)
การศึกษาโครงสร้างทางเคมีของยาขับพยาธิจากสมุนไพร มะเกลือ (Diospyros mollis)
การศึกษาองค์ประกอบของสารเคมีจากสมุนไพรชนิดต่างๆ ได้แก่ กระชาย รงทอง สะแก เจตมูลเพลิงแดง เป็นต้น
ผลงานวิจัย
บรรดาลูกศิษย์ที่เคยศึกษาเล่าเรียน และได้รับการอบรมสั่งสอนจาก ศ.ดร. สตางค์ มงคลสุข ปัจจุบันได้กลายมาเป็นบุคคลสำคัญ ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในวงการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และนักวิจัยดีเด่นของประเทศ เป็นจำนวนมาก อาทิ
ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ. พรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ.เกียรติคุณ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2527 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร. ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2519-2534)
ศ.เกียรติคุณ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2528
ศ.เกียรติคุณ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2529
ศ.เกียรติคุณ ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ ราชบัณฑิต สาขาชีววิทยา นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2533
ศ.ดร. ประเสริฐ โศภน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2538
ศ.ดร.นพ. เรือน สมณะ ราชบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
พลโท ประวิชช์ ตันประเสริฐ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
อ้างอิง
พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข
48 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2501-2549. หนังสือที่ระลึก 4 รอบ แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 21 ตุลาคม 2549.
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550
สารบัญ
ภายหลังจากการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต เมื่อเดือนกันยายน 2534 ลิทัวเนียได้เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์มาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด ทำให้สถานภาพทางเศรษฐกิจของลิทัวเนียมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ประกอบลิทัวเนียได้ทำความตกลงการค้าเสรี (free trade agreement) กับเอสโตเนียและลัตเวียเมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2536 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ รวมตลาดของทั้งสามประเทศซึ่งมีจำนว! นผู้บริโภค 8 ล้านคนเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ รัฐบาลยังดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการปฎิรูปเศรษฐกิจของประเทศครั้งใหญ่ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของลิทัวเนียเริ่มฟื้นตัวขึ้น อัตราเงินเฟ้อลดลงเป็นลำดับ ค่าเงินสกุลลิตัส (Litas) ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25มิถุนายน 2536 เริ่มมีเสถียรภาพขึ้นบรรยากาศน่าลงทุนมากขึ้น
ในปี 2538 ลิทัวเนียมีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 35.7 ลดลงจากปี 2537 ร้อยละ 45.10 ในปี 2539 มีอัตราร้อยละ 20 ในปี 2540 อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือร้อยละ 15 ปี 2544 เหลือร้อยละ 1.3 และ ในปี 2545 เหลือร้อยละ 0.8
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของลิทัวเนียที่สำคัญประกอบด้วยภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน ภาคการก่อสร้าง การค้า การขนส่ง และการบริการ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)
ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 ลิทัวเนียได้ประกาศตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลลิตัสกับเงินสกุลยูโร แทนดอลลาร์สหรัฐ ฯ ไว้ที่ 1 ลิตัส = 3.4528 ยูโร
รัฐบาลได้ออกเงินสกุลแห่งชาติลิทัวเนีย (ลิตัส) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2536 และควบคุมกระแสหมุนเวียนทางการเงินอย่างเข้มงวด
รัฐบาลมีนโยบายที่จะลดภาษีเพื่อกระตุ้นกิจกรรมด้านธุรกิจ และเพิ่มการผลิต และปรับปรุงระบบภาษีทรัพย์สิน ภาษีนิติบุคคล และภาษีรายได้ส่วนบุคคล
นอกจากนั้น รัฐบาลยังจัดตั้งเขตปลอดภาษีสำคัญการลงทุน รัฐบาลได้อนุมัติให้จัดตั้งเขตปลอดภาษีขึ้น 6 แห่ง เพื่อดึงดูดความสนใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ การลงทุนภายในเขตที่กำหนด นักลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีส่งออก-นำเข้า สำหรับสิทธิภาษีอื่น ๆ หากกิจการดังกล่าวมีเงินทุนจากต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 30 ของเงินทุนทั้งหมด จะได้รับการยกเว้นภ! าษีเป็นระยะเวลานาน 3 ปี และหากเงินทุนจากต่างประเทศเกินร้อยละ 30 จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 5 ปี รัฐบาลจัดตั้งระบบบัญชีร่วม (mutual accounts) ระหว่างรัสเซียและลิทัวเนีย เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างวิสาหกิจของประเทศทั้งสอง
รัฐบาลดำเนินมาตรการปล่อยให้ราคาสินค้าลอยตัวโดยเสรี ส่งเสริมการแข่งขันโดยภาคเอกชน และยกเลิกการสนับสนุนโดยรัฐบาล ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2536 รัฐบาลได้ยกเลิกการพยุงและอุดหนุนราคา (subsidies) ในสินค้าขนมปัง และน้ำตาล
สำหรับการค้าการลงทุนในลิทัวเนียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลลิทัวเนีย ได้ออกกฎหมายหลายฉบับซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อผู้ลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในลิทัวเนีย ดังจะเห็นได้จากการที่ในช่วงต้นปี 2538 เงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนสูงกว่า 57% ของเงินลงทุนทั้งหมด กอปรกับปัจจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนการลงทุนในลิทัวเนีย คือ
ลิทัวเนียเป็นรัฐที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองระดับหนึ่ง ทำให้นักลงทุนมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุน
ในแง่ภูมิศาสตร์ ลิทัวเนียสามารถระบายสินค้าไปสู่รัสเซียเพราะความใกล้ชิดทางด้านภูมิศาสตร์และคุ้นเคยกับการค้าขายกับรัสเซีย
ระบบการคมนาคมและสื่อสาร ภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีและสามารถติดต่อกับภูมิภาคยุโรปได้สะดวก อีกทั้งการพัฒนาสาธารณูปโภคก็อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานในการลงทุนในประเทศ
ลิทัวเนียได้จัดทำความตกลงทางการค้าเสรีกับหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งสหภาพยุโรปซึ่งเป็นหนทางขยายลู่ทางการค้าวิธีหนึ่ง
เมื่อเดือนมกราคม 2539 รัฐบาลลิทัวเนียได้อนุมัติ Public Investment Programme ซึ่งเป็นโครงการการลงทุนที่ต้องการเงินทุนมาพัฒนาในสาขาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน โดยมีสาขาที่ต้องการเงินลงทุนมากที่สุดตอนนี้คือ ระบบสาธารณูปโภค พลังงานคมนาคม การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โครงการเกี่ยวกับสุขภาพ (โดยเฉพาะอุปกรณ์ทางการแพทย์) โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะดึงดูดเงินลงทุนจากต่า! งประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐลิทัวเนีย ความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง ประเทศไทยได้ประกาศรับรองเอกราชสาธารณรัฐลิทัวเนียพร้อมกับประเทศบอลติก อื่น ๆ (ลัตเวียและเอสโตเนีย) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534 และเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2534 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาลงมติเห็นชอบให้ดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับลิทัวเนีย (พร้อมกับลัตเวียแ! ละเอสโตเนีย) ซึ่งต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2536 ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐลิทัวเนียอย่างเป็นทางการ และมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน มีเขตอาณาครอบคลุมลิทัวเนียและไอซ์แลนด์ด้วย ในปัจจุบันนายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ [[เอกอัครราชทูต[[ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำลิทัวเนียและไอซ์แลนด์
สถานที่อยู่ Royal Thai Embassy, Norgesmindevej 18 2900 Hellerup Copenhagen Tel.(45) 39625010,39625257 Fax: (45) 39625059
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เห็นชอบในการแต่งตั้งนาย Ginutis Dainius Voveris เป็นเอกอัครราชทูตลิทัวเนียประจำประเทศไทย โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงวิลนีอุส ตามที่รัฐบาลลิทัวเนียได้เสนอ สำหรับกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ กรุงวิลนีอุส ได้แก่ นายโรลันดัส วาลีอูนัส (Mr. Rolandas Valiunas) ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 และกงสุลกิตติมศักดิ์ลิทัวเนียประจำประเทศไทย คือ! ศ.นพ.วงศ์กุลพัทธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2548
วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550
พรรครีพับลิกัน (Republican Party ชื่ออื่นคือ Grand Old Party หรือ GOP) เป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่หนึ่งในสองพรรคของสหรัฐอเมริกา (อีกพรรคหนึ่งคือ พรรคเดโมแครต) เป็นพรรคการเมืองของจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน
ถ้านับตั้งแต่ ค.ศ. 1856 พรรครีพับลิกันส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งหมด 38 ครั้ง ชนะ 23 ครั้ง
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550
จังหวัดเกียวโตะ (「京都府」, Kyōto-fu, 京都府) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บนเกาะฮอนชู มีเมืองหลวงในชื่อเดียวกันคือเมืองเกียวโตะ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเกียวโตะเป็นที่ราบสลับหุบเขา ทิศเหนือติดกับทะเลญี่ปุ่น ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเฮียวโงะ ทิศใต้ติดกับจังหวัดโอซะกะ จังหวัดนารา ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดชิงะ จังหวัดฟูกูอิ ในเมืองเกียวโตะมีประ! ชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1,500,000 คน เมืองเกียวโตะ มีความสำคัญคือ เคยเป็นเมืองหลวงเก่า มีโบราณวัตถุมากมาย มีชื่อในการทำผ้าไหมและแพร
เมืองหลวง เกียวโตะซิตี้
ภูมิภาค คันไซ
เกาะ ฮอนชู
ผู้ว่าราชการจังหวัด Keiji Yamada
เนื้อที่ อันดับที่ 31
ประชากรอันดับที่ 13
จำนวนเขตการปกครองย่อย 6
จำนวนเทศบาล 28
ISO 3166-2 JP-26
สัญลักษณ์
ดอกไม้ประจำเขต: Weeping cherry blossom (Prunus spachiana)
ต้นไม้ประจำเขต: Kitayama Sugi (Cryptomeria japonica)
นกประจำเขต: Streaked shearwater (Calonectris leucomelas)
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2550
หู จิ่นเทา (胡锦涛 Hú Jǐntāo) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนคนปัจจุบัน ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากนายเจียง เจ๋อหมิน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 2003
หู จิ่นเทา เป็นชาวมณฑลเจียงซู เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1942 จบการศึกษาด้านวิศวกรรมไฮดรอลิกจากมหาวิทยาลัยชิงหัว กรุงปักกิ่ง ด้วยประวัติการศึกษาและกิจกรรมดีเลิศ หูเป็นสมาชิกพรรคยุวชนคอมมิวนิสต์ก่อนเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรม ค.ศ. 1964 หลังสำเร็จการศึกษาก็เป็นวิศวกรที่มณฑลกานซูซึ่งได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่ยากไร้ที่สุดของประเทศเป็นเวลานานหลายปี จากนั้! นจึงทำงานให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยการเป็นเลขาธิการพรรคประจำเขตปกครองตนเองทิเบต
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (Kasikorn Bank Public Company Limited) เป็นธนาคารของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 โดยกลุ่มตระกูล ล่ำซำ ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 5 ล้านบาท มีพนักงานเริ่มแรก 21 คน มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกตั้งอยู่ที่ ถนนเยาวราช ปัจจุบัน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ ซอยกสิกรไทย ถนนราษฎร์บูรณะ
ปัจจุบัน ธนาคารกสิกรไทย มีสาขาทั้งหมด 495 สาขา ทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2548)
ดูเพิ่ม
สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย
ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบระหว่างแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตะวันตกและใต้ของมาเลเซีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะสุมาตรา และเลยไปถึงทางด้านใต้ของสิงค์โปร์ ระบุพิกัดที่ประมาณ 1.43 องศาเหนือ และ 102.89 องศาตะวันออก
ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่มีความกว้างบริเวณทางเข้าประมาณ 5 ไมล์ ยาวประมาณ 600 ไมล์ ช่วงที่แคบที่สุดประมาณ 1.5 ไมล์ มีเรือผ่านประมาณ 900 ลำต่อวัน หรือประมาณ 50,000 ลำต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วมีประมาณเรือที่ผ่านมากว่าคลองสุเอซประมาณ 2 เท่า และ มากกว่าคลองปานามากว่า 3 เท่า
วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550
คำเป็น หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
คำตาย หมายถึง คำหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มีลักษณะข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา
มา นี มี ตา มา ดู ปู ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย เกอว
กลาง คืน ลืม เลย เชียว ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ อำ ใอ ไอ เอา
ทำ ใจ ไป เอา ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา (ยกเว้น อำ ใอ ไอ เอา)
สุ จิ ปุ ลิ ฯลฯ
คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ
ยก ทัพ ตัด บท ฯลฯ
อ้างอิง
พจนานุกรมไทย ฉบับทันสมัย. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2543. หน้า 859. ISBN 974-534-149-5.
ฉันทลักษณ์ เรียกดูวันที่ 19 มี.ค. 2550
วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550
บทความนี้เกี่ยวสายการบินสัญชาติอเมริกัน ส่วนสายการบินสัญชาติแอฟริกาใต้ ดูที่คอมแอร์ (แอฟริกาใต้)
คอมแอร์ เป็นสายการบินที่บริหารงานโดยเดลต้า แอร์ไลน์ ให้บริการในชื่อเดลต้าคอนเนคชั่น ไปยังเส้นทางภายในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, เม็กซิโก และบาร์ฮามาส
ฝูงบิน
ทั้งนี้ไม่รวมฝูงบินของสายการบินลูก และแฟรนไชส์
ณ พ.ศ. อายุการใช้งานเฉลี่ยของฝูงบินของ คือ ปี
หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี (9 มีนาคม 2473 - )อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง และกรุงวอชิงตัน เป็นบุตรของหม่อมเจ้าสโมสรเกษม เกษมศรี พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ และหม่อมเจ้าแขไขจรัสศรี เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเ! ทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)