วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550



พฤกษศาสตร์ (botany) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพืช เนื่องจากเป็นสาขาหนึ่งในชีววิทยา บางครั้งจึงเรียกว่า ชีววิทยาของพืชพฤกษศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวาง ครอบคลุมทั้งในด้านการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมทาบอลิซึม โรค นิเวศวิทยา และวิวัฒนาการของพืช



สารบัญ
ดังเช่นสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พืชก็สามารถศึกษาได้จากหลายแง่มุม ทั้งในด้านโมเลกุล พันธุศาสตร์ หรือชีวเคมี และศึกษาได้ตั้งแต่ระดับออร์แกเนลล์ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ต้นพืช ประชากร ไปจนถึงระดับชุมชนหรือสังคมของพืช ในแต่ละระดับเหล่านี้ นักพฤกษศาสตร์อาจสนใจศึกษาได้ทั้งในด้านการจัดหมวดหมู่ (อนุกรมวิธาน) ด้านโครงสร้าง (กายวิภาคศาสตร์) หรือด้านหน้าที่ของ�! �่วนต่างๆของพืช (สรีรวิทยา)
ในอดีตนั้น สาขาพฤกษศาสตร์จะศึกษาสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่จัดว่าไม่ใช่สัตว์ สิ่งมีชีวิตที่คล้ายพืชเหล่านี้ได้แก่ เห็ดรา แบคทีเรีย ไวรัส และสาหร่าย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้จัดอยู่ในอาณาจักรพืชอีกแล้วในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นักพฤกษศาสตร์ก็ยังคงให้ความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ และยังใช้ในการศึกษาพฤกษศาสตร์เบื้องต้น
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกๆบนโลก เป็นผู้ผลิตออกซิเจน อาหาร เชื้อเพลิง และยา ทำให้สิ่งมีชีวิตชั้นสูงกว่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ พืชยังดูดกลืนคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพืชมีความสำคัญต่ออนาคตของสังคมของมนุษย์ดังต่อไปนี้

การผลิตอาหารให้แก่โลก
ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต
การผลิตยาและวัสดุต่างๆ
ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

ขอบเขตและความสำคัญของพฤกษศาสตร์
ความจริงแล้วอาหารทุกอย่างที่เรารับประทานล้วนมาจากพืช ทั้งโดยตรงจากอาหารหลักจำพวกแป้ง ข้าว รวมทั้งผักและผลไม้ หรือโดยอ้อมผ่านทางปศุสัตว์ซึ่งกินพืชเป็นอาหาร ความหมายอีกนัยหนึ่งคือ พืชเป็นรากฐานของห่วงโซ่อาหารเกือบทุกห่วงโซ่ หรือที่นักนิเวศวิทยาเรียกว่า ลำดับขั้นแรกของอาหาร ความเข้าใจในการผลิตอาหารของพืชมีความสำคัญต่อการผลิตอาหารให้แก่ค�! �ทั่วโลก และเก็บรักษาอาหารไว้สำหรับอนาคต แต่พืชไม่ได้มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทุกชนิด วัชพืชบางชนิดสร้างปัญหาในการเกษตรกรรม และนักพฤกษศาสตร์ก็พยายามศึกษาเพื่อหาวิธีลดผลกระทบให้น้อยที่สุด



การผลิตอาหารให้แก่โลก
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมและสะดวกต่อการศึกษากระบวนการพื้นฐานต่างๆของสิ่งมีชีวิต (ตัวอย่างเช่น การแบ่งเซลล์ และการสังเคราะห์โปรตีน) โดยไม่มีปัญหาทางจริยธรรมจากการศึกษาในสัตว์หรือมนุษย์ กฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของเกรเกอร์ เมนเดล ก็ถูกค้นพบโดยการศึกษาด้วยวิธีนี้ โดยศึกษาจากการถ่ายทอดลักษณะของถั่ว


พฤกษศาสตร์
การผลิตยาและวัสดุต่างๆ
พืชสามารถทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมได้จากหลายทาง ได้แก่

ความเข้าใจในการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย และการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต มีความสำคัญต่อการจัดหมวดหมู่และการศึกษาอนุกรมวิธานของพืชได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์
พืชมีการตอบสนองต่อรังสีอุลตราไวโอเลต จึงใช้ศึกษาและตรวจสอบการลดลงของโอโซนได้
การศึกษาวิเคราะห์ละอองเกสรจากซากดึกดำบรรพ์ของพืช ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์จำลองสภาพภูมิอากาศในอดีต และทำนายสภาพอากาศในอนาคตได้
การบันทึกและวิเคราะห์ช่วงเวลาของวัฎจักรชีวิตของพืช มีความสำคัญต่อการศึกษาปรากฏการณ์และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
ไลเคน ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อสภาพอากาศ สามารถใช้ตรวจวัดมลภาวะได้
�
ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม



ประวัติศาสตร์ของพฤกษศาสตร์
ในปี 1665 (พ.ศ. 2208) โรเบิร์ต ฮุค ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องพบเซลล์ในจุกไม้คอร์ก และต่อมาไม่นานก็ค้นพบในเนื้อเยื่อพืชที่ยังมีชีวิต



พฤกษศาสตร์สมัยใหม่


เกษตรกรรม
เครื่องเทศ
ชีววิทยา
พืช
ไม้ดอก
ผลไม้
วนศาสตร์
สมุนไพร
สวนพฤกษชาติ

ไม่มีความคิดเห็น: