วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550
อัสรัน ซาล่า (Athrun Zala) หรือ [アスラン・ザラ] เป็นหนึ่งในตัวละครหลักในอนิเมเรื่องกันดั้มซี้ดและ กันดั้มซี้ดเดสทินี (พากย์เสียงโดย อากิระ อิชิดะ)
อัสรัน ซาล่า เป็นเพื่อนรักกับ คิระ ยามาโตะ ในวัยเด็ก ทั้งสองต้องแยกย้ายจากกันไปโดยอัสรันได้มอบ โทริ หุ่นยนต์นกที่ตัวเองสร้างขึ้นให้กับคิระเป็นของขวัญก่อนลาจาก พร้อมกับคำสัญญาว่าจะไม่มีสงครามระหว่างโคออดิเนเตอร์กับมนุษย์ธรรมดาอย่างแน่นอน แต่แล้ว เมื่อยามที่ทั้งสองได้พบกันอีกครั้ง กลับต้องมายืนอยู่คนละฝ่ายของสงครามเผ่าพันธุ์ระหว่างโลกกับโคออดิเนเตอร์
กันดั้มซี้ด
ในตอนเริ่มต้นของ กันดั้มซี้ดเดสทินี อัสรันได้ใช้ชีวิตหลังจากออกมาจาก ZAFT โดยการเป็นบอดี้การ์ดให้กับคางาริ ผู้นำของ Orb และแฟนของเขา โดยได้ใช้ชื่อปลอมว่า อเล็กซ์ ดิโน (Alex Dino)
แต่หลังจากนั้นอัสรันได้กลับไปที่ Plant อีกครั้ง และได้เข้าร่วมหน่วยรบ FAITH โดยได้รับหุ่มรุ่นใหม่จากประธานแพลนท์ กิลเบิร์ต ดูแรนดัล คือ ZGMF-X23S Saviour Gundamและพบกับลักส์ ไคลน์ ตัวปลอม หรือ มีอา แคมเบลล์ อัสรันได้รับคำสั่งให้ไปสนับสนุนยาน Minerva และได้รับรู้จากกัปตันยานทาเรีย กลาดิส และ ลูน่ามาเรีย ฮอว์ค ว่า "Orb ได้เข้าร่วมกับกองทัพโลก คางาริได้แต่งงาน และถูกคิระลักพาตัวไประหว่างพิธีด้วย Freedom" ทำให้อัสรันรู้ว่า คิระได้กลับมาในสนามรบอีกครั้งแล้ว
เมื่อยาน Minerva ได้เข้าร่วมสงครามกับกองทัพโลกนั้น ระหว่างที่ยาน Minerva กำลังจะยิงกองทัพ orb นั้น Freedom ได้เข้ามาขัดขวางอัสรันที่กำลังสับสนได้ค้นพาพวกคิระเพื่อพูดคุยด้วยการช่วยเหลือของ มิริอาเรีย อดีตสมาชิกยาน Arch Angel ในการพูดคุยครั้งนี้อัสรันได้รับรู้ว่า ลักส์ถูก PLANT หมายปองชีวิตซึ่งทำให้คิระยังไม่เชื่อใจ PLANT เพิ่มอีก จนทำให้ตนรู้ว่า ตนไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่คิระคิดได้
หลังจากนั้นเมื่อ Freedom ปรากฏออกมาห้ามสงครามอีกครั้ง คราวนี้อัสรันนั้นขัดขวางคิระ ไม่ให้ทำอะไรไปได้มากกว่ามองเฉยๆและทำลายหุ่นเคออส (หุ่นรุ่นใหม่ของ ZAFT ที่ถูกกองทัพโลกขโมยไปตอนต้นเรื่อง หลังจากการประทะคารมของสองเพื่อนรักเรื่อง ORB และคางาริ ที่อัสรันเหมือนจะพูดว่าทั้งหมดเป็นความผิดของ Orb และคางาริ ทำให้คิระใช้ SEED MODE จัดการทำลายหุ่นของอัสรันจนพัง เหลือไว้เพียง cockpit เท่านั้น
เมื่ออัสรันได้เห็นการรบของ ชินและคิระ ผลการรบนั้นทำให้หุ่นของคิระระเบิดต่อหน้าอัสรัน อัสรันที่จมปลักในความมืดได้รับรู้เรื่องราวจาก มีอา ทั้งเรื่องที่เขาเป็นเพียงทหารสำหรับประธาน PLANT และ เรื่องที่ถูกลูน่ามาเรียดักฟังการสนทนาของเขากับคิระ ทำให้อัสรันรู้ตัวว่า เขาไม่สามารถเป็นอย่างที่กิลเบิร์ตต้องการได้ และได้หลบหนีไป ซึ่งโดนเรย์และชินที่ได้รับคำสั่งมายิงตกไป
อัสรันฟื้นขึ้นมาอีกครั้งที่ยาน Arch Angel และได้พบกับคิระที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้เข้าร่วมกับคิระอีกครั้ง และรับมอบหุ่นใหม่จากลักส์ ZGMF-X19A Infinite Justice Gundamเพื่อยุติแผนการของกิลเบิร์ตและนำสันติภาพกลับคืนมาอีกครั้ง
กันดั้มซี้ดเดสทินี
อัสรันได้เป็นตัวเอกในภาคพิเศษนี้
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ภาษาอู๋ (吳方言 พินอิน wú fāng yán; 吳語 พินอิน wú yǔ; ) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาจีน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลซีเจียง นครเซี่ยงไฮ้ ทางใต้ของเจียงซู และบางส่วนในอันฮุย เจียงสีและ ฝูเจี้ยน มีผู้พูด 87 ล้านคน (เมื่อปี พ.ศ. 2534) โครงสร้างประโยคส่วนใหญ่เป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา โดยมีโครงสร้างประโยคเช่นนี้มากกว่าภาษาจีนกลาง และภาษาจีนกวางตุ้ง
จีนกลาง (จีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน) · สำเนียงกวางโจว (ฮ่องกง มาเก๊า และ กวางเจา โดยพฤตินัย )
กวางตุ้ง · กั้น · แคะ · จีนกลาง · เซียง · อู๋ · ฮกเกี้ยน
จิ้น · ฮุย · ผิง · ไถซาน
วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
เครื่องราง คือของที่คนนับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตระกรุด ผ้ายันต์ เห,กไหล แม้พระเครื่องก็ถือกันว่าเป็นเครื่องราง โดยเรียกว่า พระเครื่องราง
ของขลัง คือของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีพลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไป หรืออาจบันดาลสิ่งที่ต้องประสงค์สำเร็จได้
สองคำนี้มักนิยมใช้คู่กันเป็น เครื่องรางของขลัง
เครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของพระพุทธศาสนา ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยาศาสตร์มากว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนัน้มาจากพุทธคุณ
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ผู้เข้าแข่งขัน
??? ?????
วิทยากรพิเศษประจำสัปดาห์
อาหารและอุปกรณ์การกิน
อุปกรณ์ส่องสว่างและคีมอเนกประสงค์
เครื่องอุปโภค
อุปกรณ์จดบันทึก
อุปกรณ์ตัด ติด ต่อ ห่อหุ้ม
โทรศัพท์มือถือที่ใช้โทรได้เพียงครั้งเดียวไม่เกิน 1 นาที
อุปกรณ์ผูกมัด
ปริศนา ที่จะใช้ในภารกิจที่ 3 ซึ่งมาในรูปของ ภาพตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เมื่อพลิกด้านหลังจะเจอตัวเลข 5 สี อุปกรณ์ในชุดยังชีพ
จับคู่ภาพสมุนไพร
ภารกิจที่ 1
อันดับ 1 ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง - ยุทธนา อ.นิติฯทุนเรียนดี 10 ครั้ง
อันดับ 2 ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล - สุพร อ.อนุบาล-ป.โท 11 ครั้ง
อันดับ 3 ดร.อดิสร ผู้เชี่ยวชาญ นาโนเทคโนโลยี - ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ 12 ครั้ง
อันดับ 4 กฤษณะ หัวหน้าทัวร์สแกนดิเนเวีย - ณรงคชนม์ ผจก.วิศวกรระดับนานาชาติ 16 ครั้ง (ตกรอบ)
ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
นับยาลูกกลอนจำลอง 12,345 เม็ด จาก 50,000 เม็ด
ภารกิจที่ 2
อันดับ 1 ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ - ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล นับได้จริง 12,425 เม็ด คลาดเคลื่อน 80 เม็ด
อันดับ 2 ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง - ดร.อดิสร ผู้เชี่ยวชาญ นาโนเทคโนโลยี นับได้จริง 11,855 เม็ด คลาดเคลื่อน 490 เม็ด
อันดับ 3 สุพร อ.อนุบาล-ป.โท - ยุทธนา อ.นิติฯทุนเรียนดี นับได้จริง 10,468 เม็ด คลาดเคลื่อน 1,877 เม็ด(ตกรอบ)
ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
ถอดรหัส
ภารกิจที่ 3
ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล (เข้าชิงคนที่ 1)
ดร.อดิสร หัวหน้านักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี (เข้าชิงคนที่ 2)
ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง ตกรอบ
ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ ตกรอบ ผลการแข่งขัน
"หินอ่อนแจ้งพระแก้ว"
รหัสลับสัปดาห์นี้เกี่ยวข้องกับวัดที่ปรากฏบนหน้าก้อยของเหรียญกษาปณ์ไทย
หินอ่อน หมายถึงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (Marble Temple) ปรากฏบนเหรียญ 5 บาท
แจ้ง หมายถึงวัดอรุณราชวราราม (The Temple Of Dawn) ปรากฏบนเหรียญ 10 บาท
พระแก้ว หมายถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปรากฏบนเหรียญ 1 บาท
รหัสลับประจำสัปดาห์คือ 5101 ภารกิจสุดท้าย - ตอบคำถาม
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้น ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม อภัยวงศ์) ซึ่งเคยเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลบูรพา ซึ่งประกอบไปด้วย 4 จังหวัดคือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และพนมสก ซึ่งท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้สร้างตึกหลังนี้ขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประทับแรมในการเสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรีของ ร.5 โดยท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรไม่เคยใช้ตึกหลังนี้เป็นที่พักอาศัยส่วนตัวเลย ท่านได้ใช้ตึกหลังนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นคือ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเบาหวานจึงได้ใช้ตึกหลังนี้ตั้งบำเพ็ญกุศลเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งต่อมาตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้น ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลประจำจังหวัดยุคแรกของไทย ซึ่งมีด้วยกัน 19 แห่ง ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่าโรงพยาบาลปราจีนบุรี ที่น่าสนใจก็คือ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่เข้าใจว่ามีอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ที่จริงมีอยู่ 2 แห่ง เเล้วตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอีกหลังอยู่ที่จังหวัดอะไร
คำตอบ:พระตะบอง(อยู่ที่กัมพูชา)
??? ?????
วิทยากรพิเศษประจำสัปดาห์
อาหารและอุปกรณ์การกิน
อุปกรณ์ส่องสว่างและคีมอเนกประสงค์
เครื่องอุปโภค
อุปกรณ์จดบันทึก
อุปกรณ์ตัด ติด ต่อ ห่อหุ้ม
โทรศัพท์มือถือที่ใช้โทรได้เพียงครั้งเดียวไม่เกิน 1 นาที
อุปกรณ์ผูกมัด
ปริศนา ที่จะใช้ในภารกิจที่ 3 ซึ่งมาในรูปของ ภาพตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เมื่อพลิกด้านหลังจะเจอตัวเลข 5 สี อุปกรณ์ในชุดยังชีพ
จับคู่ภาพสมุนไพร
ภารกิจที่ 1
อันดับ 1 ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง - ยุทธนา อ.นิติฯทุนเรียนดี 10 ครั้ง
อันดับ 2 ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล - สุพร อ.อนุบาล-ป.โท 11 ครั้ง
อันดับ 3 ดร.อดิสร ผู้เชี่ยวชาญ นาโนเทคโนโลยี - ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ 12 ครั้ง
อันดับ 4 กฤษณะ หัวหน้าทัวร์สแกนดิเนเวีย - ณรงคชนม์ ผจก.วิศวกรระดับนานาชาติ 16 ครั้ง (ตกรอบ)
ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
นับยาลูกกลอนจำลอง 12,345 เม็ด จาก 50,000 เม็ด
ภารกิจที่ 2
อันดับ 1 ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ - ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล นับได้จริง 12,425 เม็ด คลาดเคลื่อน 80 เม็ด
อันดับ 2 ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง - ดร.อดิสร ผู้เชี่ยวชาญ นาโนเทคโนโลยี นับได้จริง 11,855 เม็ด คลาดเคลื่อน 490 เม็ด
อันดับ 3 สุพร อ.อนุบาล-ป.โท - ยุทธนา อ.นิติฯทุนเรียนดี นับได้จริง 10,468 เม็ด คลาดเคลื่อน 1,877 เม็ด(ตกรอบ)
ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
ถอดรหัส
ภารกิจที่ 3
ชาญ ผกก.หนังโฆษณา นักล่ารางวัล (เข้าชิงคนที่ 1)
ดร.อดิสร หัวหน้านักวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยี (เข้าชิงคนที่ 2)
ชลนวัตภรณ์ นักโปรแกรมสมอง ตกรอบ
ฤทธิชัย ติวเตอร์คณิตศาสตร์ ตกรอบ ผลการแข่งขัน
"หินอ่อนแจ้งพระแก้ว"
รหัสลับสัปดาห์นี้เกี่ยวข้องกับวัดที่ปรากฏบนหน้าก้อยของเหรียญกษาปณ์ไทย
หินอ่อน หมายถึงวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (Marble Temple) ปรากฏบนเหรียญ 5 บาท
แจ้ง หมายถึงวัดอรุณราชวราราม (The Temple Of Dawn) ปรากฏบนเหรียญ 10 บาท
พระแก้ว หมายถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปรากฏบนเหรียญ 1 บาท
รหัสลับประจำสัปดาห์คือ 5101 ภารกิจสุดท้าย - ตอบคำถาม
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้น ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม อภัยวงศ์) ซึ่งเคยเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลบูรพา ซึ่งประกอบไปด้วย 4 จังหวัดคือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และพนมสก ซึ่งท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้สร้างตึกหลังนี้ขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประทับแรมในการเสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรีของ ร.5 โดยท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศรไม่เคยใช้ตึกหลังนี้เป็นที่พักอาศัยส่วนตัวเลย ท่านได้ใช้ตึกหลังนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นคือ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเบาหวานจึงได้ใช้ตึกหลังนี้ตั้งบำเพ็ญกุศลเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งต่อมาตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรนั้น ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลประจำจังหวัดยุคแรกของไทย ซึ่งมีด้วยกัน 19 แห่ง ซึ่งแต่เดิมมีชื่อว่าโรงพยาบาลปราจีนบุรี ที่น่าสนใจก็คือ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่เข้าใจว่ามีอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ที่จริงมีอยู่ 2 แห่ง เเล้วตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอีกหลังอยู่ที่จังหวัดอะไร
คำตอบ:พระตะบอง(อยู่ที่กัมพูชา)
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (MCOT Public Company Limited) (ชื่อย่อ; บมจ.อสมท, MCOT PCL.) เป็นบริษัทในการกำกับของรัฐ ประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน อันประกอบด้วย กิจการวิทยุโทรทัศน์ แพร่ภาพออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยระบบสี 625 เส้น จากสถานีแม่ข่ายในกรุงเทพมหานคร ไปยังสถานีเครือข่ายในภูมิภาคจำนวน 35 สถานี มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมเกือบทั่วประเทศไทย กิจการวิทยุกระจายเสียง ส่งกระจายเสียงด้วยระบบFM ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำนวน 35 สถานี และในระบบAM ในส่วนกลาง 2 สถานี สำนักข่าวไทย ดำเนินการผลิต รวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข่าวสาร ทั้งทางสื่อโทรทัศน์แลวิทยุกระจายเสียง รวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย บมจ.อสมท อยู่ภายใต้การบริหารงานของ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ตั้งปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 63/1 ถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
การประกอบธุรกิจ
ดูบทความหลักที่ โมเดิร์นไนน์ทีวี
กิจการวิทยุโทรทัศน์ ในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี เปลี่ยนชื่อมาจาก สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ดำเนินการออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง โดยแพร่ภาพออกอากาศจากสถานีแม่ข่าย ซึ่งตั้งอยู่ในสำนักงานใหญ่ ไปยังสถานีเครือข่ายในส่วนภูมิภาคจำนวน 35 สถานีทั่วประเทศ มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศประมาณ 87% และมีประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บริการประมาณ 88.5%
โมเดิร์นไนน์ทีวี
ดูบทความหลักที่ี่ สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ
กิจการวิทยุกระจายเสียง ในการกำกับดูแลของ บมจ.อสมท คือ สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์น เรดิโอ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2497 ภายใต้ชื่อ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. ของ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ในปัจจุบันทำการส่งกระจายเสียงทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีจำนวนสถานีทั่วประเทศทั้งหมดจำนวน 62 สถานี ประกอบไปด้วย สถานีวิทยุที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 9 สถานี แบ่งเป็นระบบ FM 7 สถานีและระบบ AM 2 สถานี และในส่วนภูมิภาค ส่งกระจายเสียงในระบบ FM 53 สถานี มีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศประมาณ 92.4% และมีประชาชนอยู่ในเขตพื้นที่บริการประมาณ 93.8% ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการขออนุญาตเพื่อทำการจัดตั้งสถานีเครือข่ายเพิ่มเติม เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการ
วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ตาล (Asian Palmyra Palm) เป็นพันธุ์ไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล (Genus) Borassus ในวงศ์ (Family) Palmae เป็นปาล์มที่ แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 ซม. ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1 – 1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1 – 2 เมตร ขอบของทางของก้านทั้งสองข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็ง ๆ และคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เราเรียกว่านิ้วตาลแต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 ซม. และโตวัดผ่า กลางประมาณ 1.5 – 2 ซม. โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็ง ๆ หลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้าย ๆ กัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่ง ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 2 ซม. และมีกาบแข็ง ๆ หุ้ม แต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้น ๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 ซม. ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1 – 3 เมล็ด
ต้นตาล
ตาลตัวเมียนั้นจะมี "ลูกตาล" ติดเป็นทะลาย เมื่อยังไม่แก่จัดจนสุกเหลือง ชาวบ้านก็จะตัดลงมาทั้งทะลาย แล้วนำมา "เฉาะ" ที่ละลูก เพื่อให้ได้ "เต้าตาล" หรือ "ลอนตาล" ใน 1 ลูกตาล หรือ 1 ผลตาล จะมีเต้าตาลประมาณ 2-3 เต้า ชาวบ้านจะใช้มีดคม ๆ ถือไว้ในมือขวา มือซ้ายก็จะถือลูกตาลขยับให้พอเหมาะกัน แล้วค่อย ๆ ใช้มีดเฉาะฉับฉับ แงะเปลือกและเนื้อตาลที่แน่นเป็นเนื้อเดียวกันให้แง้มออก เห็นเต้าตาลขาวละอออยู่ข้างใน ใช้ปลายมีดค่อย ๆ แซะเต้าตาลออกอย่างเบามือ อย่าให้ปริแตกได้
เพราะเต้าตาล หรือลอนตาลอ่อนนี้ ภายในจะมีน้ำขังอยู่ ยามเมื่อปอกเปลือกเห็นเนื้อลอนตาลใส กระเพื่อมหยุ่นได้ด้วยน้ำขังภายใน ลองป้อนใส่ปากไปทั้งเต้าน้อย ๆ อย่างนั้น ใช้ฟันขบให้น้ำขังลอนตาลแตกซ่าน ภายในปากของเรา ก็จะได้รสชาติของความนุ่มเนื้อ เจือรสหอมหวานอย่างสุนทรีย์ ราวกับปีนบันไดขึ้นไปฟังเพลงคลาสสิคกระนั้น
ลอนตาลนี้ ถ้าอ่อน ๆ ก็มักจะนิยมใช้รับประทานกันเล่น ๆ หรือแช่เย็นก่อนให้ชื่นใจ จะให้วิริศมาหราขึ้นก็นำมาหั่นบาง ๆ ใส่น้ำแข็งใส โรยน้ำหวาน และนมข้น นมสด บางครั้งก็นำไปต้มกับน้ำตาลทราย ทำลอนตาลลอยแก้วใส่น้ำแข็งทุบ บ้างก็นำไปใส่รวมกับของอื่น ๆ เป็นรวมมิตรโรยกะทิสด และน้ำแข็งเย็นขื่นใจ
ลูกตาล
เกิดจากผลแก่จัดของต้นตาลตัวเมีย เมื่อผลหล่นลงมาชาวบ้านจะเก็บรวบรวมกองไว้ ต่อมาต้นตาลตัวเมียจะแทงส่วนที่คล้ายรากงอกออกมาลงสู่พื้นดิน เรียกว่า "งอกตาล" ส่วนนี้จะกลายเป็นต้นอ่อนของต้นตาล เมื่อแทงยอดพ้นดินขึ้นมาจะเจริญเติบโตเป็นต้นตาลต่อไป
จาวตาลนิยมนำไปเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน ในการนี้ จะต้องใช้ความชำนาญผ่าเอาเปลือกแข็งชั้นนอก ซึ่งเปรียบเสมือนกะลามะพร้าวออกก่อน จากนั้นจะต้องผ่าเอาเปลือกชั้นรอง คือส่วนที่เป็นน้ำเพื่อขัดผิวนอกด้วยใบไผ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ใบซอ เพื่อให้เมือกหรือไคลหมดไปจนขาวสะอาด เมื่อสะเด็ดน้ำแล้ว นำลงกระทะทองเหลืองเชื่อมกับน้ำตาลทาย ต่อไปก็จะได้ "จาวตาลเชื่อม" หรือนิยมเรียกกันว่า "ลูกตาลเชื่อม"
การเชื่อมจาวตาลนิยมทำเป็น 2 แบบคือ เชื่อมเปียก จาวตาลจะฉ่ำน้ำตาล หรือเชื่อมแห้ง จาวตาลจะมีเกร็ดน้ำตาลจับแข็ง ซึ่งสะดวกต่อการบรรจุในภาชนะและเก็บได้นาน
ถ้านำจาวตาลเชื่อมไปรับประทานพร้อมกับข้าวเหนียวมูนน้ำกะทิ เติมงาคั่วผสมน้ำตาลทราย เกลือป่น และมะพร้าวใย จะได้ขนมอร่อยอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า ข้าวเหนียวโตนด หรือข้าวเหนียวหน้าโตนด หรือข้าวเหนียวลูกตาล
นอกจากนี้ เมื่อนำลูกตาลสุกมายีเนื้อสีเหลืองแล้วผสมกับแป้งข้าวเจ้า ตั้งตากแดดไว้สักครู่ใหญ่ เติมน้ำตาลพอควร แล้วนำมาใส่ห่อใบตองหรือใส่กระทง นำไปนึ่งให้สุกในลังถึง หรือหม้อหวด ก็จะได้ขนมเนื้อนุ่มฟูคล้ายขนมเค้ก เรียกว่า "ขนมตาล" นับเป็นขนมอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยไม่ต้องใช้ผงแป้งฟูแต่อย่างใด
จาวตาล
หรือลูกตาลที่ยังไม่แก่จัด ถ้านำเอาส่วนของหัวตาลมาปอกผิวนอกออก แล้วหั่นออกเป็นชิ้นบาง ๆ ก็จะได้หัวตาลอ่อนนำไปปรุงเป็น "แกงคั่วหัวตาล" นับเป็นอาหารที่มีรสอร่อยกลมกล่อม แกงหัวตาลจะทำคล้ายแกงคั่ว มีส่วนผสมของกะทิ กระชาย ปลาย่าง ปลากรอบ หรือกุ้งสด แต่ส่วนใหญ่แกงหัวตาลของชาวเพชรบุรีนิยมใช้เนื้อย่าง หรือเนื้อเค็มหั่นบาง ๆ ผสมลงไปพร้อมกันใส่ใบส้มซ่าแทนใบมะกรูด หรืออาจใช้หอยขมมาแกะเนื้อใส่ผสมลงไปด้วย
หัวตาล นิยมนำไปลอยน้ำตาลใส โดยตัดเฉพาะส่วนหัวลูกตาลที่ค่อนข้างอ่อนร้อยกับเส้นตอกเป็นพวง ประมาณพวงละ 7-10 หัว แล้วนำไปลอยน้ำตาลใสที่กำลังเคี่ยวเดือดพล่านอยู่ในกระทะ เมื่อสุกดีแล้วจึงนำขึ้นเอาไปรับประทานได้
ผิวนอกของลูกตาล เมื่อเอามีดปาดออกชาวบ้านเรียกว่า "พลอมออก" นิยมนำไปเป็นอาหารสำหรับวัว มีกลิ่นยอมและรสออกหวานเล็กน้อย
ผลตาล
เมล็ดตาลสุก ถ้านำไปล้างและฟอกให้สะอาด แล้วนำไปตากแห้งจะมีลักษณะฟูฝอยละเอียดสวยงามคล้ายขนสัตว์ นิยมนำไปเป็นของเล่นสำหรับเด็ก โดยใช้หวี หรือแปรงจัดรูปทรงได้หลายแบบ สมมติว่าคล้ายช่างทำผม หรือตัดย้อมให้เป็นสีต่าง ๆ นับเป็นของเล่นของเด็กผู้หญิงอีกอย่างหนึ่ง
เปลือก
ใบตาลและทางตาล สามารถทำเป็นพัด โดยตัดเจียน แล้วเย็บริมขอบให้เข้ารูป หรืออาจคัดเลือกใบตาลอ่อนแล้วรีดให้เรียบ นำมาจักเป็นใบ ๆ แล้วเย็บเป็นพัดใบตาลแบบพับก็ได้ ซึ่งเหมาะที่จะพกติดตัวไปได้ พัดแบบนี้อาจผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึก โดยตกแต่งสีสันให้สวยงาม
นอกจากนี้ ใบตาลอ่อนยังสามารถนำมาจักสานทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ สำหรับแขวนให้เด็กดูเล่นได้อีกหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน กุ้ง ตั๊กแตน ชฎา หรือทำเป็นรูปสัตว์ ใส่ขาล้อแบบล้อเกวียนให้เด็ก ๆ ลากเล่น หรือนำมาจักเป็นเส้นตอก ถ้าใช้เส้นใหญ่มักสานขึ้นเป็นรูปกระเช้า ถ้าใช้ตอกเส้นเล็กนิยมสานเป็นกระเป๋าสตางค์
หากตัดใบตาลเป็นท่อนสั้น ๆ สามารถใช้แทนช้อนชั่วคราว เพื่อตักขนมและอาหาร โดยเฉพาะข้าวกระทงที่เคยขายดีขนรถไป นิยมใช้ช้อนใบตาลก่อนที่จะมาใช้ช้อนพลาสติกดังเช่นปัจจุบัน ส่วนใบตาลขนาดใหญ่ นิยมนำมาผ่าซีกแล้วหักงอผูกกับส่วนที่เป็นก้าน เรียกว่า "หักคอม้า" นำไปมุงหลังคา ทำปะรำ มุงกระท่อม หรือโรงนา มีอายุใช้งานประมาณ 2-3 ปี
ใบ
ทางตาล เป็นส่วนของก้านของใบตาล สามารถลอกผิวนอกส่วนที่อยู่ด้านบน เรียกว่า "หน้าตาล" มาฟั่นเป็นเชือกสำหรับผูกวัว ล่ามวัว แม้จะใช้ได้ไม่ทนทานเท่าเชือกที่ทำจากต้นปอหรือต้นเส้ง แต่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องตากแดดตากฝน เพราะมีความชุ่มน้ำ ซึ่งหากใช้เชือกที่ทำจากวัสดุอื่นก็จะเปื่อยผุพังเร็ว
ส่วนทางตาลตอนโคน ซึ่งอยู่ติดกับต้นตาลนั้น มีจำนวน 2 แฉก เมื่อทางตาลแก่จัดจนใบแห้งจะร่วงหล่นลงมาเอง ชาวบ้านเรียกส่วนโคนนี้ว่า "ขาตาล" มีลักษณะบางและแบน จึงเหมาะกับการนำมาตัดใช้เป็นคราด หากต่อด้ามหรือทำเป็นกาบก็จะเรียกว่า "กาบตาล" สำหรับกอบสิ่งของที่เป็นกอง เช่น ใช้กอบมูลวัว กอบขี้เถ้า กอบเมล็ดข้าว เป็นต้น
อนึ่ง ขาตาลขณะที่แก่จัดแต่ยังไม่ถึงกับแห้งกรอบ ให้ตัดเฉพาะส่วนที่เป็นขาตาล นำมาทุบด้วยของแข็งหรือสันขวาน จนเส้นใยฟุ้งกระจายดีแล้ว จึงนำแปรงที่ทำจากตะปูแปรงส่วนที่ไม่ต้องการออก จนเหลือแต่เส้นในเป็นเส้นฝอยเรียบวางเรียงเส้นขนานกัน จากนั้นนำไปมัดรวมกันคล้ายมัดวุ้นเส้น หรือเส้นหมี่ แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วมัดรวมเป็นมัดใหญ่เพื่อส่งจำหน่ายร้านรับซื้อ สำหรับเป็นแปรงหยากไย่ หรือทำไม้กวาด
ลำต้น
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550
สงครามคอโซโว (Kosovo War) มักจะกล่าวรวมถึงเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคอโซโว เขตที่อยู่ทางตอนใต้ของเซอร์เบีย คือ
พ.ศ. 2539 -พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1996-99) ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนชาวแอลเบเนียนที่เรียกว่า KLA หรือ UCK กับฝ่ายรัฐบาลยูโกสลาเวียที่มลรัฐคอโซโว ซึ่งในขณะนั้นพลเมืองส่วนใหญ่ที่อาศัยในคอโซโวจะมีเชื้อสายแอลเบเนีย ปัญหานี้เป็นปัญหาเรื้อรังเนื่องจากความขัดแย้งและต้องการแยกประเทศตั้งแต่ปี 1995 ที่ โครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย และบอสเนียฯ สามารถแยกประเทศได้ทำให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในคอโซโวต้องการแยกประเทศเพื่อไปรวมกับแอลเบเนียบ้าง
พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) สงครามต่อเนื่องระหว่างยูโกสลาเวียกับนาโต้ ในช่วง 24 มีนาคม ถึง 10 มิถุนายน ค.ศ. 1999 มีการทิ้งระเบิดของทางนาโต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการโจมตีกลับของทางฝ่าย UCK ทำให้รัฐบาลยูโกสลาเวียในขณะนั้นสั่งถอนกำลังทัพออกจากพื้นที่ บทนำ
บนดินแดนแห่งความขัดแย้งทางเชื้อชาติของชาวยูโกสลาเวียเดิม (ประกอบด้วย เซอร์เบีย โครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มณฑลวอยวอดีนา และมณฑลคอโซโว) รัฐเซอร์เบียมีเชื้อสายส่วนใหญ่เป็นชาวเซิร์บเชื้อสายเดียวกับสลาฟ (ใกล้ชิดกับรัสเซียนับถือคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์) และมีชนกลุ่มน้อยที่เป็นมุสลิมอันได้แก่ มาซิโดเนีย บอสเนียเฮอร์เซโกวีนา และคอโซโว
ในอดีตที่ผ่านมายูโกสลาเวียปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ มีผู้นำที่มีความสามารถในการปกครองและผสานความเป็นสมานฉันท์ระหว่างเชื้อชาติ คือพลเอกยอซีป บรอซ ตีโต ทำให้ความขัดแย้งทางเชื้อชาติไม่มีปัญหามากนัก จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงผู้นำเมื่อตีโตถึงแก่กรรม ผู้นำที่ขึ้นมาสืบทอดตำแหน่ง คือ สลอบอดาน มีโลเซวิช ซึ่งเป็นคนเชื้อสายเซิร์บหัวรุนแรง ทำให้ก่อชนวนปัญหาเชื้อชาติเกิดขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อระบบคอมมิวนิสต์ในรัสเซียล่มสลายปลายปี พ.ศ. 2534 ทำให้ก่อเกิดสาธารณรัฐที่ต้องการแยกเป็นอิสระ ซึ่งประเทศที่สามารถแยกตัวได้สำเร็จได้แก่ โครเอเชีย สโลวีเนีย มาซิโดเนีย และบอสเนียฯ ตามลำดับ
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550
จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638)(ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปราสาททอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา) เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ทว่าปีที่ตั้งนั้นอาณาจักรพุกามยังไม่เกิด ปัจจุบันสันนิษฐานว่าน่าจะตั้งในปีที่พระเจ้าอนุรุทธราชาธิราช กษัตริย์ศรีเกษตรขึ้นครองราชย์ เมื่อพม่าอพยพจากทิเบตเข้าไปในดินแดนนี้ จึงรับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยา และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ.
ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร หรือ ระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราช และปีนักษัตร ทำให้สามารถระบุปี ได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปีเลยทีเดียว
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ซีจุ๊หรือ ฮือเต็ก เป็นตัวเอกในนิยายเรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้า ซึ่งแต่งโดยกิมย้ง
ซีจุ๊เป็นบุตรของเจ้าอาวาสวัดเส้าหลินกับเอี้ยบยี่เนี้ย แต่ถูกเซียวเอี้ยงซัว บิดาของเฉียวฟงลักพาตัวไปทิ้งในวัดเส้าหลิน ซิจุ๊จึงคิดว่าตนเองกำพร้า และบวชเป็นบรรพชิตตลอดมา แต่ซิจุ๊ประสบเหตุพลิกผันให้เข้าพัวพันกับสำนักสราญรมย์ สืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนัก และรับพลังฝีมือเจ็ดสิบปีจากอู๋หยาจื่อ ซีจุ๊ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความแค้นระหว่างนางเฒ่าทาริกาเทียนซัวกับลี้ชิวจุ้ย ซึ่งต่อมาทั้งสองได้เสียชีวิตทั้งคู่ ทำให้ซีจุ๊ได้เป็นประมุขวังคฤธรศักดิ์สิทธิ์โดยบังเอิญ
ภายหลังซีจุ๊สาบานเป็นพี่น้องกับต้วนอี้ โดยนับเอาเฉียวฟงรวมไปด้วย ปราบเต็งชุนชิวแก้แค้นให้อาจารย์กับศิษย์พี่ และได้เป็นราชบุตรซีเซี่ย
วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550
เดือนจันทรคติ เดือน 4 คือเดือนที่สี่ของปี อาจหมายถึงเดือนเมษายนตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือเดือนที่สี่ตามปฏิทินจันทรคติ และเนื่องจากปฏิทินจันทรคติกำหนดตามดิถีจันทร์ เดือน 4 จึงไม่ตรงกันทุกปีเมื่อเทียบกับปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน แบ่งได้เป็น
เดือน 1
เดือน 2
เดือน 3
เดือน 4
เดือน 5
เดือน 6
เดือน 7
เดือน 8
เดือน 9
เดือน 10
เดือน 11
เดือน 12 ปฏิทินจันทรคติไทย
ตามปฏิทินจันทรคติไทย เดือน 4 มักเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม มี 30 วัน คือ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 ถึงแรม 15 ค่ำ เดือน 4 มีช่วงเวลาดังนี้
หากปีใดมีอธิกมาส (มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชา ซึ่งปกติตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 จะถูกเลื่อนมาอยู่ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
10 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 8 เมษายน พ.ศ. 2548
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2549
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2550
7 มีนาคม พ.ศ. 2551 - 5 เมษายน พ.ศ. 2551
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550
สุนทรียภาพคือความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะที่แต่ละบุคคลสามารถเข้าใจได้และรู้สึกได้ หรือเป็นความรู้สึก และความเข้าใจของแต่ละบุคคลที่มีต่อความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ
• สุนทรียภาพ (Aesthetics)
สุนทรียภาพ(Aesthetics)เป็นคําในภาษากรีก เดิมหมายถึงการรับรู้ทางความรู้สึก (sense perception) จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 บวมการเทน(Buamgarten)นักปรัชญาชาวเยอรมันได้ให้ความหมายใหม่โดยหมายถึง การรับรู้และชื่นชมความงาม เป็นที่ทราบดีว่าสุนทรียภาพเป็นเรื่องของอัตวิสัย(Subjective) ซึ่งแต่ละคนย่อมให้คุณค่าสุนทรียภาพแตกต่างกันไป (Whittick, A., 1974: 11) ดังเช่นความหมายของสุนทรียภาพในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 ที่ให้ความ หมายไว้ว่า ความเข้าใจและความรู้สึกของแต่ละบุคคลที่มีต่อความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2539: 827) ในความหมายทั่วไปคําว่าสุนทรียภาพมักจะใช้ร่วมกับคําว่า ความสวยงาม (Beauty) แม้ว่า ความสวยงามเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสุนทรียภาพ แต่ในสาขาวิชานี้ ถือว่าสุนทรียภาพมีความหมาย กว้างและครอบคลุมมากกว่า กล่าวคือนักสุนทรียศึกษามีความเห็นว่าสุนทรียภาพอาจจะไม่ใช้ความ สวยงามเพียงอย่างเดียว ความเศร้าโศก (Tragic)ความน่าเกลียด(Ugly)ความขบขัน(Comic)และ ความน่าพิศวง(Sublime)ก็ทําให้เกิดอารมณ์สุนทรียได้เช่นเดียวกัน (ฐานิศวร์ เจริญพงศ์, 2543: 58) รวมถึงลักษณะของอารมณ์หรือความรู้สึกน่าสนใจ(interested)ความไม่น่าสนใจ(disinterested) ความเพลิดเพลินใจ(pleasure)กินใจ(empathy)ลืมตัว (attention span)(ทวีเกียรติ ไชยยงยศ, 2538: 3)
วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา
ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกร็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย
ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก
ส่วนประกอบของฟัน
เคลือบฟัน (enamel) : เป็นส่วนที่แข็งที่สุดของฟันมีส่วนประกอบของแคลเซียมและฟอสเฟต
เนื้อฟัน (dentin) : เป็นส่วนที่แข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน มีความแข็งพอๆกับกระดูก ชั้นนี้มีการสร้างและสลายอยู่ตลอดเวลา เป็นชั้นที่มีเซลล์เป็นจำนวนมาก
โพรงประสาทฟัน (pulp) : เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดที่นำอาหารมาหล่อเลี้ยงฟัน และนำของเสียออกจากฟัน มีและเส้นประสาทรับความรู้สึกของฟัน
เคลือบรากฟัน : เป็นส่วนของเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่ภายในราฟัน ด้านหลังของเหงือก ซึ่งมีเส้นประสาทไหลเวียนมาก
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (Suan Dusit Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีชื่อเสียงในเรื่องการโรงแรมและธุรกิจบริการ และสวนดุสิตโพล
ประวัติ
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน "สถาบันราชภัฏ"
สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ดอกเฟื่องฟ้า-ขจร ดอกไม้ประจำสถาบัน
สีประจำสถาบัน สีฟ้าน้ำทะเล สีประจำมหาวิทยาลัย
คณะครุศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาการจัดการ
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์
โคงการจัดตั้งคณะการออกเเบบ
โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การอาหาร
โครงการจัดตั้งคณะนิเทศศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
โรงเรียนประถมสาธิตอนุบาลละอออุทิศ
โปรแกรมวิชา
หลักสูตร คณะ
สถาบันวิจัยและพัฒนา
สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม (ศิลปวัฒนธรรม)
สถาบันขงจื้อ
เสียงวัฒนธรรม
ศูนย์ภาษา
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา
ฝ่ายผลิตเอกสารและตำรา
ศูนย์สิ่งแวดล้อม
ฝ่ายวิทยุกระจายเสียง
ศูนย์สนเทศแนะแนวการศึกษาและอาชีพ
โรงแรมสวนดุสิตเพลส
ศูนย์บริหารกายและสุขภาพ
โครงการอาหารกลางวัน
ศูนย์หนังสือ
น้ำดื่มดุสิตา
โรงเรียนการอาหารนานาชาติสวนดุสิต
สหกรณ์ออมทรัพย์
กองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษา
กองทุนสะสมเลี้ยงชีพ
สวนดุสิตโพล
โฮมเบเกอรี่
วารสารวิชาการสวนดุสิต
ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์
โครงการสอนดนตรีบุคคลภายนอก สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
หน่วยงาน วิทยาเขต และศูนย์การศึกษา นอกมหาวิทยาลัย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SCI) (อาคารดัชมิลล์ บางบำหรุ) (เปิดทำการปีการศึกษา 2550)
โรงเรียนการอาหารนานาชาติ (ICS) (ริมคลองบางบำหรุ) (เปิดทำการปีการศึกษา 2550) ศูนย์การศึกษา
พณิชยการสยาม (ยกเลิกการใช้งานตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป)
ลุมพินี (ยกเลิกการใช้งานตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป)
รางน้ำ (ยกเลิกการใช้งานตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป)
วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ตูตง (Tutong) เป็นเมืองที่อยู่ระหว่างบันดาร์เสรีเบกาวันและเมืองซีเรีย การเดินทางด้วยการเช่ารถขับไปเองถูกกว่าเหมาแท็กซี่ไป สถานที่ท่องเที่ยวเป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ชายหาดนี้มีที่พักแบบรีสอร์ตคือ Pantai Seri Kenangan ชาวบรูไนเรียกชายหาดนี้ว่า Pantai Tutong (Pantai แปลว่าชายหาด) ชายหาดนี้ด้านหนึ่งติดมหาสมุทรอีกด้านหนึ่งติดแม่น้ำตูตง หาดตูตงเป็�! ��หาดทรายขาวสวยกว่าทุกแห่งในบรูไน มีพระตำหนักที่ประทับ(อิสตานา-Istana) ของสมาชิกในพระราชวงศ์ที่ก่อสร้างอย่างทันสมัยอยู่ด้วย นอกจากนั้นเสน่ห์ของเมืองตูตงอยู่ที่ตลาดแบบชาวบ้านตอนเช้าๆ
ตูตงแบ่งเป็นเขตการปกครองได้ 8 จังหวัด (mukim)
เคเรียม (Keriam)
กุยดัง (Kiudang)
ลามูนิน (Lamunin)
ปกัน ตูตง (Pekan Totong)
รามไบ (Rambai)
ตันหยงมายา (Tanjong Maya)
ตลิไซ (Telisai)
อูกง (Ukong)
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550
วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550
แผ่นแสตมป์ (หรือ แสตมป์เต็มแผ่น) แผ่นกระดาษที่ประกอบไปด้วยแสตมป์อยู่ภายในและยังไม่ได้ฉีกแยกออกมา ในหนึ่งแผ่นอาจมีแสตมป์ 20, 25, 50 หรือ 100 ดวงหรือต่างจากนี้ขึ้นกับความต้องการของไปรษณีย์ของประเทศนั้น ๆ
ในอดีต แสตมป์ทุกดวงในแผ่นจะเป็นแบบเดียวกันหมด แต่ในระยะหลัง มีการพิมพ์แผ่นที่มีแสตมป์หลายแบบในแผ่นเดียวกัน เรียกว่า แผ่นแสตมป์คละแบบ (composite sheet) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อการสะสม แสตมป์บางชุดมีการพิมพ์ทั้งแผ่นธรรมดาและแผ่นคละแบบ และแสตมป์บางชุดทุกดวงในแผ่นก็มีแบบไม่ซ้ำกันอีกด้วย
รายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏบนแผ่นแสตมป์
บนแผ่นแสตมป์ นอกเหนือไปจากแสตมป์ที่อยู่ภายใน ส่วนขอบของแผ่นรอบ ๆ แสตมป์ มักมีการพิมพ์ข้อมูลอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น
หมายเลขแผ่น
เครื่องหมายระบุ แท่นพิมพ์ หรือ เพนในชีท อาจเป็นหมายเลข หรือตัวอักษร
ชื่อโรงพิมพ์
วันแรกจำหน่ายแสตมป์
ครั้งที่พิมพ์
เครื่องหมายตรวจสอบสี เพื่อให้ตรวจสอบได้ง่ายว่า พิมพ์ครบทุกสีในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่
ข้อความประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมให้ใส่รหัสไปรษณีย์บนจดหมาย เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)