วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550


เมื่อกล่าวถึงคำว่า การศึกษา เราหมายความถึงทั้งการเรียน การสอน ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา เป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษา คือ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น (ดู การขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของ การศึกษา คือ การพัฒนาคน ซึ่ง การพัฒนา หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น / การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิต มีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่ พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม้แต่ก่อนแรกเกิด
การจัดการศึกษาโดยทั่วไปในประเทศไทย แบ่งออกเป็นระดับ ดังนี้
การศึกษาถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชีวิต โดยเฉพาะสังคมโลกปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ ยุคของการบริโภคข่าวสารข้อมูลไร้พรหมแดน นานาประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศผู้นำความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ให้ความสำคัญของการศึกษาแก่ประชากรชาติอย่างมาก มีการจัดสรรงบประมาณในการให้การศึกษาแก่ประชาชนในลำดับต้น ๆ ของการจัดสรรงบประมาณในแต่ละประเภทของประเทศ เช่นเดียวกันกับประเทศไทยได้ให้ความสำคัญของการให้การศึกษาประชาชนโดยมีการจัดสรรงบประมาณของรัฐในการบริหารประเทศด้านการศึกษาในระดับต้นมาตลอดทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของประเทศไทยตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 -2544) จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (ฉบับปัจจุบัน พ.ศ.(2550 – 2554) ได้มุ่งเน้นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรหลักที่สำคัญในการพัฒนาทุกด้าน การพัฒนาประเทศระบุให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ทางด้านกฎหมายทางการศึกษาได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า จะมุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การศึกษาของประเทศไทยมีพัฒนาการอันยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ที่มีการกำหนดให้มีอักษรไทยขึ้น และมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะข้าราชการและบุคลากรในวงจำกัดเท่านั้น ประชาชนทั่วไปจะเข้ารับการศึกษาจากผู้รู้และพระสงฆ์ในวัดเป็นส่วนใหญ่ การจัดการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมาจากการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก มีการส่งลูกหลาน ข้าราชบริภาร และเชื้อพระวงศ์ไปเข้ารับการศึกษาในต่างประเทศมากขึ้น จนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเริ่มจัดตั้งโรงเรียนให้การศึกษาแก่ประชาชนขึ้นทั้งในพระราชวัง กรุงเทพฯ และขยายไปยังภูมิภาคในรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา สำหรับด้านการศึกษาผู้ใหญ่ก็มีพัฒนาการอันยาวนานเช่นเดียวกัน ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนเมื่อปี พ.ศ. 2480 เมื่อประเทศไทยโดยรัฐบาลมีการสำรวจพบว่าประชากรชาติจำนวน 48.9% ยังอ่านหนังสือไม่ออกเขียนหนังสือไม่ได้ ทำให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญและสนใจในการแก้ไขปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือ โดยจัดตั้งกองการศึกษาผู้ใหญ่ ขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2483 สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีหน้าที่หลักการจัดการศึกษาผู้ใหญ่ ลดอัตราการไม่รู้หนังสือ การให้การศึกษาเพื่อการรู้หน้าที่พลเมือง และการสร้างเสริมระบอบประชาธิปไตย และในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกับองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้จัดการศึกษาผู้ใหญ่หลักสูตรมูลฐาน (Fundamental Education) โดยมีการกำหนดการเรียนรู้ด้านอาชีพให้กับผู้ใหญ่ควบคู่ไปกับการเรียนรู้หนังสือ และหน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และในปี พ.ศ. 2497 UNESCO และกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งศูนย์อบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี (ศ.อ.ศ.อ.) เพื่อผลิตผู้นิเทศทางด้านการศึกษาพื้นฐานที่จะร่วมทำงานกับประชาชนในชนบท ให้ประชาชนเข้าใจสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความรู้ในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนเอง ใช้หลักสูตร การศึกษา 2 ปี ผู้จบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรระดับประโยคครูมัธยมทางด้านการศึกษาพื้นฐาน ในปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยมีการสำรวจสำมะโนประชากร พบว่าประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีสภาพการไม่รู้หนังสือจำนวน ร้อยละ 23 ทำให้รัฐบาลหวนกลับมาให้ความสนใจในการขจัดการไม่รู้หนังสืออีกครั้งหนึ่ง กระทรวงศึกษาธิการได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ระดับ 1-2 โดยมีการผสมผสานการรู้หนังสือกับการสอนวิชาชีพเข้าด้วยกัน และปี พ.ศ. 2511 ได้นำแนวทางของ UNESCO มาแก้ไขผู้ไม่รู้หนังสือเรียกว่า " การแก้ไขการไม่รู้หนังสือแบบสมกิจ" (Functional Literacy หรือ Worked Olientation Program) และพัฒนามาเป็น "หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ" โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท มุ่งเน้นให้ประชาชนนำข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางด้านวิชาการ มาตัดสินใจแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน และต่อมาได้รับการพัฒนาเป็นแนวคิด หลักการ และปรัชญา "คิดเป็น" ที่นักการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษานอกโรงเรียนยึดถือเป็นแนวทางในการทำงานและการปฏิบัติต่อไป ในปี พ.ศ. 2517 มีการจัดโครงการจัดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จประเภทอาสาสมัครเดินสอน ควบคู่ไปกับการจัดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จประเภทชั้นเรียน และขยายการจัดการศึกษาเป็นวงกว้างขึ้นในรูปแบบและวิธีการต่าง ๆ เช่นการสอนโดยนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา การสอนโดยพระภิกษุ และการจัดการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จประเภทชาวเขา เป็นต้น จนถึง พ.ศ. 2522 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติจัดตั้ง กรมการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2522 โดยให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษานอกโรงเรียนของกระทรวงศึกษามาเป็นหน่วยงานสังกัดเดียวกัน เพื่อให้การจัดการศึกษานอกโรงเรียนเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น และในปี พ.ศ. 2526 รัฐบาลมีการแก้ไขปัญหาการไม่รู้หนังสือของประชากรชาติครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งเรียกว่า "โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ" เพื่อขจัดคนไม่รู้หนังสืออายุระหว่าง 15-60 ปี ตามบัญชีรายชื่อให้หมดสิ้นภายในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งก็ถือได้ว่าประสบผลสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง แนวคิดทางการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาเพื่อปวงชนได้ถูกนำมาพิจารณาและใช้ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนมากขึ้นเริ่มตั้งแต่การขยายหน่วยจัดและบริการการศึกษานอกโรงเรียนไปสู่ในพื้นที่มากขึ้น มีการทดลองดำเนินการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอขึ้นในปี พ.ศ. 2530 ทั่วประเทศ จำนวน 125 อำเภอ เพื่อกระจายการบริหารการจัดการศึกษานอกโรงเรียนไปสู่ระดับอำเภอ และมีการประกาศจัดตั้งสถานศึกษา "ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/เขต" โดยกระทรวงศึกษาธิการครบทุกอำเภอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน โดยมีแนวคิดว่าจะขยายการจัดและบริการการศึกษานอกโรงเรียนและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยไปสู่ประชาชนให้สะดวกและขยายได้มากที่สุด แนวคิดและแรงผลักดันของการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน และการศึกษาตลอดชีวิตที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ การประชุมนานาชาติ ว่าด้วยการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ หาดจอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี ที่ดำเนินการจัดโดย UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2533 ซึ่งในที่ประชุมประเทศสมาชิกได้กำหนดข้อตกลงร่วมกันที่เรียกว่า "ปฏิญญาสากลว่าด้วยการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน" (World Declaration on Education for All) เป็นพันธกิจที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกจะดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ตามแนวทางการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Primary-Secondary Education) การส่งเสริมความรู้และทักษะพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต (Literacy) และ การศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education) ซึ่งประเทศไทยเป็นทั้งเจ้าภาพในการจัดประชุมดังกล่าว และเป็นประเทศสมาชิก UNESCO ด้วย จึงให้ความสำคัญและส่งเสริมการจัดการศึกษาให้แพร่หลายกว้างขวาง ไปสู่ประชาชนทุกกลุ่มให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายเช่นเดียวกัน สำหรับในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับชายแดนประเทศสหภาพพม่ายาวกว่า 400 กิโลเมตร มีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ มูเซอ ลีซอ ม้ง ปะโอ ลั่วะ จีนฮ่อ และชนพื้นเมือง มีสภาพการเคลื่อนย้ายประชากรค่อนข้างสูงรวมถึงผู้อพยพพลัดถิ่น และหนีภัยจากการสู้รบประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก กอบร์กับภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง ทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก ก่อให้เกิดสภาพการศึกษาต่ำ มีผู้ไม่รู้หนังสือ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ จปฐ. จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ประชากรวัยแรงงานอายุ 15 – 60 ปี มีการศึกษาเฉลี่ย เพียง 3.68 ปี เท่านั้น ในระหว่างที่การศึกษาของประชากรชาติอยู่ที่ 8.6 ปี สภาพของคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. หลายด้าน รวมทั้งด้านสุขภาพอนามัยและรายได้ ปัญหาของประชากร และสิ่งแวดล้อมในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่งผลให้ประชากรโดยเฉพาะวัยแรงงานให้ความสนใจเข้ารับบริการการศึกษาจากภาครัฐน้อย เพราะประชาชนมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา และเห็นว่าการประกอบอาชีพและการทำมาหากินมีความสำคัญมากกว่าการเข้ารับการศึกษา เพราะในอดีตที่ผ่านมาการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอย่างเช่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน การศึกษาที่รัฐจัดให้นั้นมีความแปลกแยกจากวิถีชีวิตจริง ประชาชนไม่รู้จะนำเอาองค์ความรู้ที่ได้รับการศึกษานั้นมาใช้กับชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในบริบทของตนเองได้อย่างไร การศึกษาของรัฐจึงไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนได้เท่าที่ควร แนวคิดของการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All และ All for Education) หรือปวงชนเพื่อการศึกษา เพื่อให้การศึกษาตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นอย่างแท้จริง รวมถึงการนำเอาชุมชนที่มีศักยภาพมาช่วยเหลือ และจัดการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชนนั้น ๆ ที่ผู้วิจัย มีความสนใจ และศึกษานำมาเป็นแนวทางการการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนในชุมชน โดยใช้ชื่อที่ชุมชน ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าใจได้ง่ายว่า "รูปแบบการจัดการศึกษา 100% ในชุมชน" วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดการศึกษา 100% ในชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้การจัดการศึกษา 100% ในชุมชนประสบผลสำเร็จ ขอบเขตของการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนา (Research & Development) เพื่อหารูปแบบของการจัดการศึกษาให้กับชุมชนตามแนวคิดของการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (Education for All & All for Education) โดยใช้ขอบเขตพื้นที่ในการปฏิบัติงานดำเนินการจัดการศึกษาชุมชน ในชุมชนหมู่บ้านที่จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน หรือศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" แล้วแต่กรณี ที่พนักงานราชการ ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปฏิบัติงานอยู่ประจำหมู่บ้าน
คณะศึกษาศาสตร์ ระดับอนุบาล
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
ระดับอุดมศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น: